PISA คืออะไร
PISA เป็นคำย่อมาจากคำว่า Programme for International Student Assessment หรือ โครงการประเมินผลการศึกษานักเรียนนานาชาติ เป็นโครงการประเมินผลการศึกษาของประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD) มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจว่าระบบการศึกษาของประเทศได้เตรียมเยาวชนของชาติให้พร้อมสำหรับการใช้ชีวิตและการมีส่วนร่วมในสังคมในอนาคตเพียงพอหรือไม่ โดย PISA เน้นการประเมินสมรรถนะของนักเรียนวัย 15 ปี ที่จะใช้ความรู้และทักษะในด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เพื่อเผชิญกับโลกในชีวิตจริงมากกว่าการเรียนรู้ตามหลักสูตรในโรงเรียน
ทำไมต้องวัดตามแนว PISA
กกก1. แผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) ซึ่งได้มีการกำหนดเป้าหมายโดยใช้ผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) และผลการประเมิน PISA (Programmer of International Student Assessment) ไว้เป็นเป้าหมายสำคัญของการยกระดับผลสัมฤทธิ์
กกก2. กระทรวงศึกษาธิการได้ใช้ผลการสอบ PISA เป็นตัวบ่งชี้หนึ่งของความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552-2561)
กกกกก“ภายในปี พ.ศ. 2561 ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ (ผลทดสอบ PISA)”
กกก3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เปลี่ยนรูปแบบการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพผู้เรียน (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ซึ่งเดิมมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Achievement) วิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และประเมินความสามารถด้านการอ่านการเขียน และการคิดคำนวณ เป็นการประเมินด้านภาษา (Literacy) ด้านคำนวณ (Numeracy) และด้านเหตุผล (Reasoning Ability) ซึ่งเริ่มประเมินในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2555 เป็นต้นมา
กกก4. นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
กกกกกเพื่อให้การศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทยพัฒนาไปในทิศทางที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศและโลก
กกกกกยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกระดับทุกประเภท กลยุทธ์ ข้อ 8. ส่งเสริมสนับสนุนการทำการทดสอบ O-NET การประเมินของ PISA และระบบการทดสอบกลางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่ใกล้เคียงกัน
สาระสำคัญในการประเมิน PISA
กกกกกในช่วงเวลาที่ผ่านมาการประเมินของ PISA ได้กำหนดกรอบการประเมินความรู้และทักษะหรือที่เรียกว่า “การรู้เรื่อง” (Literacy) ไว้ 3 ด้าน แต่ในปี 2015 ได้กำหนดกรอบการประเมินเพิ่มเติม ด้านการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ โดยแต่ละด้านมีสาระสำคัญในการประเมิน ดังนี้
กกก1. การรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy) หมายถึง ความสามารถที่จะทำความเข้าใจกับสิ่งที่ได้อ่าน สามารถนำไปใช้สะท้อนออกมาเป็นความคิดเห็นของตนเอง และมีความรักและผูกพันกับการอ่าน เพื่อพัฒนาความรู้และศักยภาพ และการมีส่วนร่วมในสังคม
การประเมินคาดหวังให้นักเรียนแสดงความสามารถด้านการอ่านดังนี้
กกกกก1.1 การเข้าถึงและค้นคืนสาระ
กกกกก• รู้ขอบเขตของข้อสนเทศที่ต้อการว่าอยู่ในตำแหน่งใดของเรื่องที่อ่าน
กกกกก• จำแนกความเหมือนและความแตกต่างของข้อสนเทศที่มีอยู่ในเนื้อเรื่อง
กกกกก1.2 การบูรณาการและตีความ
กกกกก• แสดงความเข้าใจโดยสามารถระบุใจความสำคัญหรือจุดประสงค์ของเรื่อง
กกกกก• เชื่อมโยงส่วนต่างๆ ของข้อสนเทศที่หลากหลายเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจเรื่องที่อ่าน
กกกกก• ตีความเนื้อเรื่องเพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในสิ่งที่อ่านได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
กกกกก1.3 การสะท้อนและประเมิน
กกกกก• วิเคราะห์เนื้อเรื่อง รูปแบบ และวิธีการเขียนของเรื่องที่อ่าน
กกกกก• ประเมิน แสดงความคิดเห็นและให้ข้อโต้แย้งจากมุมมองของตนเองได้
กกกกกนักเรียนต้องใช้สมรรถนะในการอ่านเนื้อเองจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบที่หลากหลาย บางครั้งต้องนำความรู้อื่นๆ นอกเหนือจากเนื้อเรื่องมาเชื่อมโยงกับสาระสำคัญภายในเรื่องที่ได้อ่านแล้วสะท้อนสิ่งที่ได้อ่านออกมาตามความคิดของตนอย่างสมเหตุสมผล
กกก2. การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการคิด ใช้ ตีความคณิตศาสตร์ในสถานการณ์ต่างๆ ที่หลากหลาย รวมถึงการให้เหตุผลอย่างเป็นคณิตศาสตร์ ใช้แนวคิดและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการอธิบายและทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ
กระบวนการทางคณิตศาสตร์ของ PISA แบ่งเป็น 3 กระบวนการ ดังนี้
กกกกก2.1 การคิดสถานการณ์ของปัญหาในเชิงคณิตศาสตร์
กกกกก• ระบุประเด็นทางคณิตศาสตร์ของปัญหาในชีวิตจริง
กกกกก• ทำสถานการณ์หรือปัญหาให้อยู่ในรูปอย่างง่ายเพื่อทำให้การวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ง่ายขึ้น
กกกกก• แปลปัญหาให้อยู่ในรูปของภาษาทางคณิตศาสตร์
กกกกก2.2 การใช้หลักการและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา
กกกกก• คิดและนำกลยุทธ์ในการหาวิธีแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ไปใช้
กกกกก• ใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์เพื่อช่วยหาวิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องหรือเหมาะสม
กกกกก• นำกฎเกณฑ์ ขั้นตอนวิธีและโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา
กกกกก2.3 การตีความและประเมินผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์
กกกกก• ตีความผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์กลับไปสู่บริบทในชีวิตจริง
กกกกก• ประเมินความเป็นเหตุเป็นผลของวิธีแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในบริบทของปัญหาชีวิตจริง
กกกกก• อธิบายความสมเหตุสมผลของผลลัพธ์หรือข้อสรุปทางคณิตศาสตร์กับบริบทของปัญหา
กกกกกในการทำแบบทดสอบคณิตศาสตร์ นักเรียนต้องใช้กระบวนการทางคณิตศาสตร์ซึ่งเริ่มจากการคิดว่าคณิตศาสตร์ไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้นอย่างไร และแปลงปัญหาในชีวิตจริงให้อยู่ในรูปปัญหาทางคณิตศาสตร์ แล้วใช้วิธีกรทางคณิตศาสตร์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ จากนั้นจึงตีความและประเมินผลลัพธ์ที่ได้ไปสู่บริบทในชีวิตจริง
กกก3. การรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) หมายถึง ความสามารถของบุคคลที่จะเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เข้ากับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างไตร่ตรอง
PISA คาดหวังให้นักเรียนแสดงความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ ดังนี้
กกกกก3.1 การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์
กกกกก• ดึงความรู้วิทยาศาสตร์มาใช้ในการสร้างคำอธิบายที่สมเหตุสมผล
กกกกก• พยากรณ์การเปลี่ยนแปลงในเชิงวิทยาศาสตร์และให้เหตุผลที่สมเหตุสมผล
กกกกก• อธิบายถึงศักยภาพของความรู้วิทยาศาสตร์ที่สามารถนำไปใช้เพื่อสังคม
กกกกก3.2 การประเมินและออกแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
กกกกก• ระบุปัญหาที่ต้องการสำรวจในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
กกกกก•บอกได้ว่าประเด็นปัญหาหรือคำถามใดสามารถตรวจสอบได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
กกกกก• บอกและประเมินวิธีสำรวจตรวจสอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้
กกกกก3.3 การแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์
กกกกก• วิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และลงข้อสรุป
กกกกก• ระบุข้อสันนิษฐาน ประจักษ์พยาน (หลักฐาน) และเหตุผลในเรื่องที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
กกกกก• ประเมินข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์และหลักฐานที่มาที่หลากหลาย
กกกกกนักเรียนต้องใช้ความรู้ด้านเนื้อหา ความรู้ด้านกระบวนการ และความรู้เกี่ยวกับการได้มาของความรู้ร่วมกับสมรรถนะต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาในแบบทดสอบวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่หลากหลายในชีวิตจริงและเกี่ยวข้องกับตัวเอง ท้องถิ่น ประเทศหรือสถานการณ์ของโลก
กกก4. การแก้ปัญหาแบบร่วมมือ (Collaborative Problem Solving) หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการเข้าร่วมกระบวนการแก้ปัญหาของกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการแบ่งปันความเข้าใจที่มีและรวบรวมความรู้ ทักษะและความพยายามเข้าด้วยกันเพื่อแก้ปัญหา
PISA คาดหวังให้นักเรียนแสดงความสามารถด้านการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ ดังนี้
กกกภใ4.1 การสร้างและเก็บรักษาความเข้าใจที่มีร่วมกัน
กกกกก• รู้ละเข้าใจข้อสนเทศสำคัญ รวมทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนที่สัมพันธ์กับงานที่ตนเองและเพื่อนร่วมกลุ่มมี
กกกกก• สื่อสารข้อสนเทศ ติดตาม แก้ไขและเก็บรักษาความเข้าใจที่มีร่วมกันตลอดการทำภารกิจ
กกกกก4.2 การเลือกวิธีดำเนินการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา
กกกกก• เข้าใจปัญหาและรู้แนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
กกกกก• มีการสื่อสารในกลุ่มระหว่างทำงานร่วมกันโดยใช้การอธิบาย การอภิปราย การต่อรอง การให้เหตุผล และการโต้แย้ง
กกกกก• ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ร่วมกันตามบริบทหน้าที่ของตน
กกกกก4.3 การสร้างและรักษาระเบียบของกลุ่ม
กกกกก• เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนและเพื่อนร่วมกลุ่ม รวมทั้งเฝ้าติดตามและรักษากฎระเบียบที่มีร่วมกัน
กกกกก• สื่อสารและถ่ายทอดข้อสนเทศที่สำคัญ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นกับเพื่อนร่วมกลุ่ม
กกกกกในการทำแบบทดสอบการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ นักเรียนต้องใช้สมรรถนะเพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในและนอกโรงเรียน จะกำหนดเป้าหมายและเงื่อนไปของภารกิจไว้ นักเรียนต้องทำความเข้าใจภารกิจ รู้บทบาทหน้าที่ของตนและเพื่อน แล้วสื่อสารแบ่งปันข้อมูลและร่วมกันแก้ปัญหากับเพื่อนร่วมกลุ่มให้สำเร็จ ผ่านการแชท (chat) โต้ตอบกับเพื่อนร่วมกลุ่มซึ่งเป็นบุคคลสมมติ ในคอมพิวเตอร์
- คู่มือสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริหาร ครูและนักเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการประเมิน PISA
- การการรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy)
- ตัวอย่างการประเมินผลนานาชาติ-การรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy)
- ตัวอย่างการประเมินผลนานาชาติ PISA 2009 การรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy) (เพิ่มเติม)
- การการรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy) pisa reading for จุฬาภรณ์_ข้อสอบ ชุด 1
- การรู้การรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy) pisa reading for จุฬาภรณ์_ข้อสอบ ชุด 2
- การการรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy) pisa reading for จุฬาภรณ์_ข้อสอบ ชุด 3
- การรู้การรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy) pisa reading for จุฬาภรณ์_ข้อสอบ ชุด 4
- การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy)
- ตัวอย่างการประเมินผลนานาชาติ-การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy)
- การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) pisa math 1
- การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) pisa math 2
- การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) pisa math 3
- การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) pisa math 4
- การรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy)
- การรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) pisa science for จุฬาภรณ์_ข้อสอบ ชุด 1
- การรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) pisa science for จุฬาภรณ์ ข้อสอบ ชุด2
- การรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) pisa science for จุฬาภรณ์_ข้อสอบ ชุด3
- การรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) pisa science for จุฬาภรณ_ข้อสอบ ชุด4
- ตัวอย่างข้อสอบที่ใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ตามโครงการวิจัยนานาชาติ TIMSS 2007
- ตัวอย่างข้อสอบที่ี่ใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ตามโครงการวิจัยนานาชาติ TIMSS 2007
- ตัวอย่างการประเมินผลวิทยาศาสตร์นานาชาติ PISA และ TIMSS
- TIMSS_ตัวอย่างข้อสอบคณิตศาสตร์
- TIMSS_ตัวอย่างข้อสอบวิทยาศาสตร์
การอ่านตามนิยามของ PISA
PISA ให้นิยามการรู้เรื่องการอ่าน (Reading literacy) หมายถึง ความรู้และทักษะที่จะเข้าใจเรื่องราวและสาระของสิ่งที่ได้อ่าน ตีความหรือแปลความหมายของข้อความที่ได้อ่าน และประเมิน คิดวิเคราะห์ ย้อนกลับไปถึงจุดมุ่งหมายของการเขียนได้ว่าต้องการส่งสารสาระอะไรให้ผู้อ่าน ทั้งนี้เพื่อจะประเมินว่านักเรียนได้พัฒนาศักยภาพในการอ่านของตนและสามารถใช้การอ่านให้เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ ในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมและความเป็นไปของสังคมอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่เพียงใด เพราะการประเมินของ PISA นั้นเน้น “การอ่านเพื่อการเรียนรู้” มากกว่าทักษะในการอ่านที่เกิดจากการ “การเรียนรู้เพื่อการอ่าน” และ PISA ประเมินผลเพื่อศึกษาว่านักเรียนจะสามารถรู้เรื่องที่ได้อ่าน สามารถขยายผลและคิดย้อนวิเคราะห์ความหมายของข้อความที่ได้อ่าน เพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์ของตน ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างกว้างขวางทั้งในโรงเรียนและในชีวิตจริงนอกโรงเรียน
นิยามเรื่องการอ่านของ PISA จึงมีความหมายกว้างกว่าการอ่านออกและอ่านรู้เรื่องในสิ่งที่อ่านตามตัวอักษรเท่านั้น แต่การอ่านยังได้รวมถึงความเข้าใจเรื่องราวสาระของเนื้อความ สามารถคิดพิจารณาถึงจุดมุ่งหมายของการเขียน สามารถนำสาระจากข้อเขียนไปใช้ในจุดมุ่งหมายของตน และทำให้สามารถมีส่วนร่วมในสังคมสมัยใหม่ที่มีความยุ่งยากซับซ้อนขึ้น ด้วยการสื่อสารจากข้อเขียน
วิธีการวัดความรู้และทักษะการอ่านของ PISA
ในการทดสอบการอ่าน นักเรียนจะได้รับข้อความต่างๆ หลากหลายแบบด้วยกันให้อ่าน แล้วให้แสดงออกมาว่ามีความเข้าใจอย่างไร โดยให้ตอบโต้ ตอบสนอง สะท้อนออกมาเป็นความคิดหรือคำอธิบายของตนเอง และให้แสดงว่าจะสามารถใช้สาระจากสิ่งที่ได้อ่านในลักษณะต่าง ๆ กัน ได้อย่างไร
องค์ประกอบของความรู้และทักษะการอ่านที่ประเมิน
PISA เลือกที่จะประเมินโดยใช้แบบรูปการอ่าน 3 แบบด้วยกัน ได้แก่
กกกก) การอ่านข้อเขียนรูปแบบต่างๆ
กกกกกPISA ประเมินการรู้เรื่องจากการอ่านข้อความแบบต่อเนื่อง ให้จำแนกข้อความแบบต่างๆ กัน เช่น การบอก การพรรณนา การโต้แย้ง นอกจากนั้น ยังมีข้อเขียนที่ไม่ใช่ข้อความต่อเนื่อง ได้แก่ การอ่านรายการ ตาราง แบบฟอร์ม กราฟ และแผนผัง เป็นต้น ทั้งนี้ ได้ยึดสิ่งที่นักเรียนได้พบเห็นในโรงเรียน และจะต้องใช้ในชีวิตจริงเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
กกกข) สมรรถนะการอ่านด้านต่างๆ 3 ด้าน
กกกกกเนื่องจาก PISA ให้ความสำคัญกับการอ่านเพื่อการเรียนรู้ มากกว่าการเรียนเพื่อการอ่าน นักเรียนจึงไม่ถูกประเมินการอ่านธรรมดา (เช่น อ่านออก อ่านได้คล่อง แบ่งวรรคตอนถูก ฯลฯ) เพราะถือว่านักเรียนอายุ 15 ปี จะต้องมีทักษะเหล่านั้นมาแล้วเป็นอย่างดี แต่ PISA จะประเมินสมรรถภาพของนักเรียนในแง่มุมต่อไปนี้
กกกกก1) ความสามารถที่จะดึงเอาสาระของสิ่งที่ได้อ่านออกมา (Retrieving information) ต่อไปจะใช้คำว่า “การเข้าถึงและค้นสาระ”
กกกกก2) ความเข้าใจข้อความที่ได้อ่าน สามารถตีความ แปลความสิ่งที่ได้อ่าน คิดวิเคราะห์เนื้อหาและรูปแบบของข้อความที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ในชีวิตหรือในโลกที่อยู่ (Interpretation) ซึ่งต่อไปจะใช้คำว่า “การบูรณาการและตีความ”
กกกกก3) ความเข้าใจข้อความที่ได้อ่าน สามารถตีความ แปลความสิ่งที่ได้อ่าน คิดวิเคราะห์เนื้อหาและรูปแบบของข้อความที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ในชีวิตหรือในโลกที่อยู่ พร้อมทั้งความสามารถในการประเมินข้อความที่ได้อ่าน และสามารถให้ความเห็น หรือโต้แย้งจากมุมมองของตน (Reflection and Evaluation) หรือเรียกว่า “การสะท้อนและประเมิน : วิเคราะห์”
กกกค) ความสามารถในการใช้การอ่าน
PISA ประเมินความรู้และทักษะการอ่านอีกองค์ประกอบหนึ่ง โดยดูความสามารถในการใช้การอ่านที่ว่ามีความเหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะของข้อเขียนได้มากน้อยเพียงใด เช่น ใช้นวนิยาย จดหมาย หรือชีวะประวัติเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ใช้เอกสารราชการหรือประกาศแจ้งความเพื่อสาธารณประโยชน์ ใช้รายงานหรือคู่มือต่างๆ เพื่อการทำงานอาชีพ ใช้ตำราหรือหนังสือเรียน เพื่อการศึกษา เป็นต้น
ตัวอย่างแบบฝึกทักษะการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖
- เรื่อง เคล็ดลับการออกกำลังการสำหรับผู้สูงอายุ โดย นางจุไรภรณ์ จันทร์จิตตะการ โรงเรียนบ้านควนนา สปพ.สงขลา เขต ๒
- เรื่อง Facebook ทำร้ายลูก โดย จันทพร พลอินตา โรงเรียนวัดห้วยแก้ว สพป.เชียงใหม่ เขต ๑
- เรื่อง กล่องดำคืออะไร ทำไมจึงเรียกว่ากล่องดำ โดย นางพัฒศรี กาญจนคุณากร ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านเวียง (ตุอุปถัมภ์) สพป.อุบลราชธานี เขต ๒
- เรื่อง ชีวจิต Rainy seasons กินสมุนไพรต้านหวัดตามแพทย์แผนจีน โดย นางศิริพร พงษ์เนตร ชั้น ป. ๔-๖
- เรื่อง เสน่ห์เมืองจันท์ สีสันตะวันออก โดย นางสาวอรวรรณ
- ประโยชน์ของผักผลไม้ โดย นางสุวิมล ไวยารัตน์ ศึกษานิเทศก์ สพป.อุบลราชธานี เขต ๕
- เรื่อง โรคใหม่ของคนทำงานศตวรรษที่ ๒๑ โดย นางพวงเพ็ญ เปล่งปลั่ง โรงเรียนชัยนาทพิทยาคม สพม. เขต ๔
- เรื่อง อาหารไทย-คุณประโยชน์ด้านสุขภาพอาหารเลิศรศ โดย นางสุรีย์ ศรีแกวงศ์ โรงเรียนบ้านป่าลาน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- เรื่อง คำแนะนำในการใช้น้ำมันทอดอาหาร โดย นางเสนาะจิต สิริเลิศธีรกุล ศึกษานิเทศก์ สพป.หนองคาย เขต ๑
- เรื่อง มะขามป้อมยักษ์อินเดีย และ หยุด! เพิ่มความร้อนใส่กรุงเทพฯ โดย นายสุทธิ สวรรณปาล ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต ๑
- เรื่อง ฝ้ารักษาได้แต่ไม่หายขาด เป็นแล้วควรดูแลแต่เนิ่นๆ โดย นางสุพรรณ ชัยปัญญา โรงเรียนอนุบาลเชียงราย
- เรื่อง แตงโมแดงจัดฉีดสีจริงหรือ และ พายุฤดูร้อน Thunderstorms โดย นางสกุลรัตน์ นามน้อย โรงเรียนนาก้านเหลือง สพป.ขอนแก่น เขต ๔
ตัวอย่างแบบฝึกทักษะการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓
- การพัฒนาแบบฝึกอ่าน-นัยนา สพป.นครพนม เขต 1
- เรื่อง ผลไม้รสเปรี้ยว จี๊ดจ๊าด ให้ประโยชน์ โดย ว่าที่ ร.ต. ณัฐธนัน วรรณสุข โรงเรียนสุวรรณพิทยาคม สพม.๓๒
- เรื่อง อาหารการกิน กินแกงบอน โดย นางรัตนา คำเพชรดี โรงเรียนนาแกสามัคคีวิทยา
- ข้อสอบการอ่านเอาเรื่อง ระดับชั้น ม.๓-๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๕
- ตัวอย่างข้อสอบการประเมินผล PISA การอ่าน
- ตัวอย่างข้อสอบการรู้เรื่องการอ่าน
- แบบฝึกหัด PISA ชุดที่ ๑
- ข้อสอบ PISA ระดับ ๓
- pisa reading for จุฬาภรณ์_ข้อสอบ ชุด 1
- pisa reading for จุฬาภรณ์_ข้อสอบ ชุด 2
- pisa reading for จุฬาภรณ์_ข้อสอบ ชุด 3
- pisa reading for จุฬาภรณ์_ข้อสอบ ชุด 4
ตัวอย่างบทอ่าน
- 1 เมษา (ไม่น่าโง่)
- เรื่อง แมวๆ
- น้ำพริกถ้วย (ไม่เคย) เก่า
- โลกร้อน
- ลัดเลาะริมโขง
- สำรวจสัตว์โลกลึกลับ
- ลอย…ลอย…กระทง
- กีฬาหาดูยาก
- เรื่องของแอปเปิ้ล
- เรื่องของเขา
- จันทร์เอ๋ยจันทร์เจ้า
Link ที่เกี่ยวข้อง
- การประเมินผลนักเรียนระดับนานาชาติ (Programme for International Student Assessment : PISA)
- การประชุมปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรแกนนำการจัดการเรียนรู้ด้านการรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy) วันที่ ๑๑-๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘
- ภาพกิจกรรมการประชุมปฏิบัติการฯ พัฒนาบุคลากรแกนนำการจัดการเรียนรู้ด้านการรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy) วันที่ ๑๑-๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘
- การอบรมพัฒนาบุคลากรแกนนำด้านการยกระดับคุณภาพผู้เรียนสู่ความพร้อมในการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ วันที่ ๑๑-๑๔ มีนาคม ๒๕๕๘
- การประชุมปฏิบัติการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน และสื่อสารได้ วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๗
- ระบบออนไลน์ข้อสอบ PISA.pdf
- โปรแกรมระบบออนไลน์ข้อสอบ PISA