การพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดนระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560–2564)
การพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดนระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560–2564)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) ได้มอบหมายให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานกลางในการประสานการดำเนินงานพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายสำหรับดำเนินการพัฒนาประกอบด้วยจังหวัด/อำเภอ ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และราชอาณาจักรกัมพูชา ครอบคลุมพื้นที่ ๒๗ จังหวัด และกำหนดให้มีการจัดประชุมชี้แจงแผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔ ของกระทรวงศึกษาธิการ ในวันจันทร์ที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๐ ณ โรงแรม เอส. ดี. อเวนิว เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔ ของกระทรวงศึกษาธิการ สำหรับใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดนของกระทรวงศึกษาธิการต่อไป
1. พื้นที่ชายแดน หมายถึง พื้นที่ชายแดนของจังหวัด/อำเภอที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 3 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 27 จังหวัด 105 อำเภอ โดยไม่รวมพื้นที่ชายฝั่งทะเล และเกาะแก่ง สำหรับชายแดนมาเลเซีย ถือเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีหน่วยงานที่ดำเนินการเรื่องนี้อยู่แล้ว
2. จำนวนจังหวัดและอำเภอที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
2.1 จังหวัดและอำเภอชายแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ครอบคลุม 12 จังหวัด 47 อำเภอ
2.2 จังหวัดและอำเภอชายแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ครอบคลุม 10 จังหวัด 39 อำเภอ
2.3 จังหวัดและอำเภอชายแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา ครอบคลุม 7 จังหวัด 20 อำเภอ
3. พื้นที่/จังหวัด/อำเภอที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
3.1 พื้นที่/จังหวัด/อำเภอชายแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
จำนวน 12 จังหวัด 47 อำเภอ
3.2 พื้นที่/จังหวัด/อำเภอชายแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา จำนวน 10 จังหวัด 39 อำเภอ
3.3 พื้นที่/จังหวัด/อำเภอชายแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา จำนวน 7 จังหวัด 20 อำเภอ
- แผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน (พ.ศ. 2560-2564 ) ของกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการ มีภารกิจในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ โดยส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา ส่งเสริมและประสานงาน การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬา เพื่อการศึกษา รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ และประเมินการจัดการศึกษา ทั้งนี้ เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และประกอบอาชีพได้ โดยในส่วนของการศึกษาในพื้นที่ชายแดน กระทรวงศึกษาธิการได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของพื้นที่ดังกล่าวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการพัฒนาประเทศ และเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา อาทิการอ่านเขียนภาษาไทยไม่คล่อง ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และความยากจน ประกอบกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งมีวิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง” มียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการและการพัฒนาประเทศ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน การเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน และความมั่นคง ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการจะต้องเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มาสู่ยุทธศาสตร์ทางด้านการศึกษา เพื่อดำเนินการพัฒนาการศึกษาให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายและทุกพื้นที่ของประเทศ
- ปก แผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ของกระทรวงศึกษาธิการ
- คำนำ สารบัญ
- บทที่ 1 บทนำ
- บทที่ 2 สภาพปัญหาของพื้นที่
- บทที่ 3 สาระสำคัญของแผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน (พ.ศ. 2560-2564) ของกระทรวงศึกษาธิการ
- บทที่ 4 การนำยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ
- บทที่ 5 โครงการและงบประมาณ
- โครงการ 60-64 ชายแดนยุทธศาสตร์ 1
- โครงการ 60-64 ชายแดนยุทธศาสตร์ 2
- โครงการ 60-64 ชายแดนยุทธศาสตร์ 3
- สรุปโครงการชายแดน 3 ยุทธศาสตร์
- ผังแผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน
- แผนที่แสดงพื้นที่จังหวัดชายแดน จำนวน 27 จังหวัด
- รายการอ้างอิง
- ภาคผนวก
2. แผนปฏิบัติราชการพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดนระดับภาค
ระดับภาค จัดทำแผนปฏิบัติราชการพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดนระดับภาค และติดตาม ผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน รวมทั้งกำกับ ดูแล และให้คำปรึกษาในการปฏิบัติงานระดับภาค และระดับจังหวัดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- ปก แผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔)
- คำนำ สารบัญ
- บทที่ 1 บทนำ
- บทที่ 2 สภาพปัญหาของพื้นที่
- บทที่ 3 สาระสำคัญของแผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน (พ.ศ. 2560-2564)
- บทที่ 4 การนำยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ
- บทที่ 5 โครงการและงบประมาณ
- โครงการ 60-64 ชายแดนยุทธศาสตร์ 1
- โครงการ 60-64 ชายแดนยุทธศาสตร์ 2
- โครงการ 60-64 ชายแดนยุทธศาสตร์ 3
- สรุปโครงการชายแดน 3 ยุทธศาสตร์
- ผังแผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน
- แผนที่แสดงพื้นที่จังหวัดชายแดน จำนวน 27 จังหวัด
- รายการอ้างอิง
- ภาคผนวก
3. แผนปฏิบัติราชการพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดนระดับจังหวัด
ระดับจังหวัด จัดทำแผนปฏิบัติราชการพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดนระดับจังหวัด และขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดนตามแผนปฏิบัติราชการฯ รวมทั้งติดตาม รายงานผล การดำเนินงานต่อคณะกรรมการฯ ระดับภาคและระดับดำเนินงาน และศึกษา วิจัยและจัดทำข้อมูลสารสนเทศ ที่จำเป็นเพื่อใช้ในการวางแผนและการติดตามประเมินผล
- ปก แผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) จังหวัดนครพนม
- คำนำ สารบัญ
- บทที่ 1 บทนำ
- บทที่ 2 สภาพปัญหาของพื้นที่
- บทที่ 3 สาระสำคัญของแผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน (พ.ศ. 2560-2564) จังหวัดนครพนม
- บทที่ 4 การนำยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ
- บทที่ 5 โครงการและงบประมาณ
- โครงการ 60-64 ชายแดนยุทธศาสตร์ 1
- โครงการ 60-64 ชายแดนยุทธศาสตร์ 2
- โครงการ 60-64 ชายแดนยุทธศาสตร์ 3
- สรุปโครงการชายแดน 3 ยุทธศาสตร์
- ผังแผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน
- แผนที่แสดงพื้นที่จังหวัดชายแดน
- รายการอ้างอิง
- ภาคผนวก
Link ที่เกี่ยวข้อง